หนอนผีเสื้อเจาะต้นสัก

บุคคลออนไลน์

มี 11 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์

สถิติผู้ชม

ค้นหา

Vinaora World Time Clock

ประวัติความเป็นมา

  1. เมื่อปี พ.ศ.2476 รัฐบาลได้มีพระราชกฤษฏีกาจัดวางระเบียบกรมในกระทรวงเศรษฐการ พุทธศักราช 2476 ได้กำหนดให้จัดตั้ง กองทำไม้ ขึ้นเป็นราชการส่วนกลาง สังกัดกรมป่าไม้ โดยมีหน้าที่รับผิดชอบการทำไม้สักของรัฐบาล มีหลวงประเสริฐวนศาสตร์ เป็นผู้ดำรงตำแหน่ง "ผู้ดูแลการทำไม้ของรัฐบาล" เป็นคนแรก ประจำอยู่ ณ ที่ลำปาง

  2. ต่อมาในปี พ.ศ.2482 บริษัทบอร์เนียว จำกัด และบริษัทหลุยส์ ตี เลียว โนเวนส์ ซึ่งเป็นผู้รับสัมปทานป่าไม้ สัญญาอายุสัมปทานได้สิ้นสุดลง กรมป่าไม้จึงตกลงซื้อที่ดิน ที่ทำการและอาคารต่าง ๆ ของทั้งสองบริษัท ซึ่งตั้งอยู่ถนนท่ามะโอ ตำบลเวียงเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ซึ่งเป็นที่ทำการของผู้ดูแลป่าไม้

  3. พ.ศ.2485 รัฐบาลได้ออกพระราชกฤษฏีกาจัดวางระเบียบราชการกรมป่าไม้ซึ่งสังกัดกระทรวงเกษตราธิการ พุทธศักราช 2485 กำหนดให้ตั้ง "กองทำไม้" ขึ้นเป็นราชการบริหารส่วนกลางของกรมป่าไม้ ซึ่งมีแผนกที่ขึ้นตรง 2 แผนก คือ

            - แผนกทำไม้ ที่ทำการอยู่ที่ลำปาง

            - แผนกขายไม้ ที่ทำการอยู่ที่กรุงเทพฯ

              ในสมัยนั้นการทำไม้สักของรัฐบาลได้ขยายกว้างขวางขึ้น ได้รับป่าไม้สักเพิ่มขึ้นหลายป่า และเนื่องจากกองทำไม้เป็นหน่วยราชการสังกัดกรมป่าไม้ ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการทำไม้จึงต้องใช้จ่ายภายในวงเงินงบประมาณที่กำหนดไว้ ทำให้เป็นอุปสรรคในด้านการเงินที่ล่าช้า และไม่มีความคล่องตัวเท่าที่ควร

  4. ในปี พ.ศ.2490 รัฐบาลได้พิจารณาเห็นว่า ประเทศไทยจำเป็นจะต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ฝ่ายพันธมิตรเป็นเงินจำนวนมาก นอกจากนี้จะต้องจ่ายเงินในการบูรณะประเทศบ้านเมือง ซึ่งได้รับความเสียหายจากภัยสงคราม รัฐบาลจึงได้ตกลงใจที่จะทำป่าไม้สักเสียเอง เมื่อทำไม้สักมากขึ้นจะมอบให้กรมป่าไม้เป็นผู้ทำไม้เองเช่นแต่ก่อน จะเป็นการไม่เหมาะสม ทั้งนี้เนื่องจากกรมป่าไม้มีเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอ และอีกประการหนึ่งการทำการค้าแบบราชการมีพิธีรีตองมาก จึงเป็นการยากที่จะแข่งขันกับบริษัทชาวต่างประเทศ ดังนั้น รัฐบาลจึงให้ยุบ "กองทำไม้" ในสังกัดกรมป่าไม้ แล้วจัดตั้งองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) ขึ้นมาแทน โดยให้รับโอนกิจการของกองทำไม้ทั้งหมดมาดำเนินการ รวมทั้งทรัพย์สินต่าง ๆ อีกบางส่วน

  5. องค์การอุตสาหกรรมป่่าไม้ จัดตั้งขึ้นโดยมติคณะรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2490 เป็นต้นมา เมื่อก่อตั้ง อ.อ.ป. ขึ้้นแล้วก็มีความจำเป็นที่จะต้องแยกส่วนงานให้เป็นสัดส่วน เพื่อความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน อ.อ.ป. จึงได้จัดตั้ง "แผนกไม้สัก" ขึ้นที่จังหวัดลำปาง (อ.อ.ป. ปัจจุบัน) เพื่อควบคุมรับผิดชอบการทำไม้สักของรัฐบาลในภาคเหนือ ทั้งนี้ แผนกไม้สักมีผู้จัดการคนแรก คือ หลวงวิบูลย์ ธรรมบุตร ในขณะนั้นผู้บังคับบัญชาของแผนกไม้สัก คือ ฝ่ายทำไม้ โดยมีคุณหลวงชำนาญวนกิจ เป็นผู้อำนวยการฝ่ายคนแรก ขึ้นตรงต่อผู้อำนวยการใหญ่ อ.อ.ป. กรุงเทพฯ

  6. แผนกไม้สักได้กำหนดให้ตั้งอยู่ที่บ้านท่ามะโอ ตำบลเวียงเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง โดยใช้สถานที่และอาคารซึ่งเป็นของกองทำไม้เดิมเป็นที่ทำการของแผนกไม้สัก ทั้งนี้ เนื่องจากจังหวัดลำปางเป็นศูนย์กลางทำไม้สักของประเทศไทย และเป็นศูนย์กลางของการคมนาคมของภาคเหนือ

  7. ในปี พ.ศ.2499 มีการเปลี่ยนแปลงฐานะของ อ.อ.ป. โดยมีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง อ.อ.ป. พ.ศ.2499 ให้ อ.อ.ป. เป็นนิติบุคคลอยู่ในสังกัดกระทรวงเกษตร

  8. ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ.2503 เกี่ยวกับนโยบายการทำไม้มีข้อความโดยย่อว่า "ไม้สักและไม้ยางเป็นทรัพยากรอันมีค่าของชาติ ควรที่จะจัดการทำไม้ทั้งสองอย่างนี้ให้เป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติมากที่สุด" จึงมอบให้ อ.อ.ป. เป็นผู้ทำไม้ออกแต่ผู้เดียว ซึ่งเป็นการสะดวกในการควบคุมและปราบปรามผู้ลักลอบตัดไม้ทำลายป่า และยังทำให้รัฐบาลสามารถควบคุมราคาไม้ในตลาดให้อยู่ในระดับเหมาะสมและควบคุมการทำไม้ออกแต่ละปีได้ตามความต้องการของรัฐบาล และเพื่อให้งานของ อ.อ.ป. ได้ผลตามความมุ่งหวังของรัฐบาล อ.อ.ป. กรุงเทพฯ จึงได้ออกคำสั่งที่ 151/2503 ลงวันที่ 14 ธันวาคม 2503 ให้ปรับปรุงงานของแผนกไม้สัก จังหวัดลำปาง ให้ทันสมัยยิ่งขึ้น เรียกว่าระบบสาขา โดยแบ่งแยกออกเป็น 5 สาขา คือ

                   - สาขาเชียงใหม่

                   - สาขาตาก

                   - สาขาลำปาง

                   - สาขาแพร่

                   - สาขาพิษณุโลก

  9. ในปี พ.ศ.2504 แผนกไม้สักได้ย้ายที่ทำการซึ่งเดิมอยู่ริมฝั่งแม่วังมุมถนนป่าไม้ ตรงข้ามกับป่าไม้เขตลำปาง ไปอยู่ที่ถนนท่ามะโอ หน้าวัดประตูต้นผึ้ง ซึ่งก่อสร้างสำนักงานใหม่เป็นตึกชั้นเดียว เหตุที่ต้องสร้างสำนักงานใหญ่เนื่องจากสำนักงานเก่าเป็นอาคารไม้เก่าแก่ทรุดโทรมมาก และต่อมาในปี พ.ศ.2510 ฝ่ายทำไม้ภาคเหนือได้ก่อสร้างตึก 2 ชั้นเพิ่มเติมอีก 1 หลัง โดยก่อสร้างติดกับด้านหลังตึกที่ทำการชั้นเดียวหลังเดิม ด้วยเงินงบประมาณ 2,000,000.- บาท (สองล้านบาทถ้วน)

  10. ในปี พ.ศ.2507 อ.อ.ป. ได้มีคำสั่งที่ 19/2507 ลงวันที่ 12 มีนาคม 2507 ปรับปรุงงานทำไม้และล่องแพไม้ เป็นแผนกไม้สักเพิ่มขึ้นอีก 1 สาขา คือ สาขานครสวรรค์ รวมเป็น 6 สาขา โดยมีอาณาเขตควบคุมของแผนกไม้สัก โดยถือเอาจังหวัดที่มีไม้สักในขณะนั้น รวมทั้งสิ้น 17 จังหวัด คือ จังหวัดอุท้ยธานี , ชัยนาท , นครสวรรค์ , กำแพงเพชร , พิจิตร , เพชรบูรณ์ , สูโขทัย , ตาก , พิษณุโลก , อุตรดิตถ์ , แพร่ , น่าน , เชียงราย , ลำพูน , เชียงใหม่ และแม่ฮ่องสอน

  11. เนื่องจากแผนกไม้สักเป็นส่วนที่สืบเนื่องมาจากราชการของรัฐส่วนหนึ่ง จึงถือว่าแผนกไม้สักเป็นราชการส่วนหนึ่งของรัฐ แต่ในขณะนั้นแผนกไม้สักเป็นรัฐวิสาหกิจของรัฐ และได้เปลี่ยนแปลงชื่อไปตามเหตุการณ์และภาวะการณ์ของบ้านเมือง ดังนี้   

                   11.1 เมื่อปี พ.ศ.2490 เป็นปีที่รัฐบาลจัดตั้ง อ.อ.ป. ส่วนงานของแผนกไม้สักที่ลำปางเรียกว่า แผนกไม้สัก มีผู้บริหารงาน เรียกว่า ผู้จัดการแผนกไม้สัก

                   11.2 ในปี พ.ศ.2509 โดยอนุมัติของคณะกรรมการ อ.อ.ป. ให้แบ่งส่วนราชการใหม่ โดยให้เรียกชื่อว่ากองทำไม้ภาคเหนือ แทนแผนกไม้สักเดิม และมีผู้บริหารเรียกว่า "ผู้อำนวยการกอง กองทำไม้ภาคเหนือ"

                   11.3 ในปี พ.ศ.2519 โดยมติคณะกรรมการ อ.อ.ป. ให้แบ่งส่วนราชการใหม่ โดยให้เรียกชื่อว่า "ฝ่ายทำไม้ภาคเหนือ" แทน "กองทำไม" ภาคเหนือเดิม และมีผู้บังคับบัญชา คือ "หัวหน้าฝ่ายทำไม้ภาคเหนือ"

                   11.4 ในปี พ.ศ.2534 โดยมติคณะกรรมการ อ.อ.ป. ให้แบ่งส่วนราชการใหม่ โดยให้เรียกชื่อว่า "ฝ่ายอุตสาหกรรมป่าไม้ภาคเหนือ" แทนฝ่ายทำไม้ภาคเหนือเดิม และมีผู้บังคับบัญชาคือ "หัวหน้าฝ่ายอุตสาหกรรมป่าไม้ภาคเหนือ"

                   11.5 ในปี พ.ศ.2545 โดยมติคณะกรรมการ อ.อ.ป. ให้ปรับปรุงหน้าที่ความรับผิดชอบและกรอบอัตรากำลังส่วนงานของ อ.อ.ป. โดยให้เรียกชื่อว่า สำนักงานอนุรักษ์และพัฒนาสวนป่าภาคเหนือ แทนฝ่ายอุตสาหกรรมป่าไม้เดิม และมีผู้บังคับบัญชา คือ "ผู้อำนวยการสำนักงานอนุรักษ์และพัฒนาสวนป่าภาคเหนือ"

                   11.6  ในปี พ.ศ. 2549 โดยมติคณะกรรมการ อ.อ.ป. ได้ปรับบทบาทการดำเนินงานของ อ.อ.ป. โดยเพิ่มการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้มากขึ้น จึงได้เปลี่ยนชื่อจาก "สำนักงานอนุรักษ์และพัฒนาสวนป่าภาคเหนือ" เป็น "สำนักส่งเสริมและพัฒนาไม้เศรษฐกิจภาคเหนือบน"   และมีผู้บังคับบัญชา คือ "ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและพัฒนาไม้เศรษฐกิจภาคเหนือ"

                               ปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อ "สำนักส่งเสริมและพัฒนาไม้เศรษฐกิจภาคเหนือ" มาเป็น "องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ภาคเหนือบน"

 

 องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ภาคเหนือบน

   :: แบ่งส่วนงานออกเป็นดังนี้ ::

ระดับผู้บริหารสำนัก ประกอบด้วย

  1. ผู้อำนวยการสำนัก

  2. หัวหน้าฝ่ายบริหารทั่วไป

  3. หัวหน้าฝ่ายจัดการสวนป่า

  4. หัวหน้าฝ่ายจัดการผลผลิต

หน่วยงานในสังกัด

::ส่วนอำนวยการ::

  - งานบริหารทั่วไป

  - งานบัญชีการเงิน

  - งานบริหารบุคคล

  - งานพัสดุ

::ส่วนแผนงานและประเมินผล:: 

  - งานแผนงานและประเมินผล

  - งานวิจัยและพัฒนา

  - งานส่งเสริมปลูกไม้เศรษฐกิจ

  - งานการตลาดและสารสนเทศ

 ::ส่วนบริการจัดการสวนป่าและผลผลิต:: 

  - งานบริการจัดการด้านปลูกป่า

  - งานบริการจัดการด้านทำไม้

  - งานช่างกล

::ส่วนโครงการบ้านวัดจันทร์:: 

  - งานบริหารทั่วไป

  - งานสวนป่าหลวงบ้านวัดจันทร์

  - งานธุรกิจบริการและการท่องเที่ยว

::ส่วนอุตสาหกรรมป่าไม้แม่เมาะ::

  - งานบริหารทั่วไป

  - งานแปรรูปไม้

  - งานผลิตภัณฑ์

::องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้เขตเชียงใหม่:: 

  - งานบริหารทั่วไป

  - งานบัญชีการเงิน

  - งานแผนงานและประเมินผล

  - งานสวนป่าแม่หอพระ

  - งานสวนป่าแม่ลี้

  - งานสวนป่าแม่แจ่ม

  - งานสวนป่าแม่หาด-แม่ก้อ

  - งานสวนป่าบ้านหลวง

  - งานสวนป่าไชยปราการ

  - งานสวนป่าเชียงดาว

  - งานสวนป่าดอยบ่อหลวง

  - งานสวนป่าแม่อุคอ

  - งานสวนป่าแม่อุมลอง

  - งานสวนป่าหลวงสันกำแพง

 - งานสวนป่าแม่หลักหมื่น

 - งานสวนป่าแม่ธิฯ

 - งานสวนป่าบ้านวงษา

งานสวนป่าสาละวิน

::องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้เขตลำปาง::

  - งานบริหารทั่วไป

  - งานบัญชีการเงิน

  - งานแผนงานและประเมินผล

  - งานสวนป่าทุ่งเกวียน

  - งานสวนป่าแม่มาย

  - งานสวนป่าแม่ทรายคำ

  - งานสวนป่าแม่สุก

  - งานสวนป่าเวียงมอก

  - งานสวนป่าแม่พริก - แม่สะเลียม

  - งานสวนป่าแม่เมาะ

  - งานสวนป่าแม่จาง

  - งานสวนป่าแม่ยาว - แม่ซ้าย

::องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้เขตแพร่::

  - งานบริหารทั่วไป

  - งานบัญชีการเงิน

  - งานแผนงานและประเมินผล

  - งานสวนป่าวังชิ้น

  - งานสวนป่าแม่สิน-แม่สูง

  - งานสวนป่าแม่สรอย

  - งานสวนป่าแม่มาน

  - งานสวนป่าเด่นชัย

  - งานสวนป่าขุนแม่คำมี

  - งานสวนป่าแม่คำปอง-แม่สาย

  - งานสวนป่านครน่าน

 - งานสวนป่าแม่ยม-แม่แปง

  - งานสวนป่าแม่แฮด